เมื่อวานนี้ (6 ก.ค.) องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติการใช้ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ Leqembi” อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นยาตัวแรกที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถชะลอการเกิดโรคความจำเสื่อมได้

เทเรซา บูรัคคิโอ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานประสาทวิทยาศาสตร์ในศูนย์การประเมินและวิจัยยาของ FDA กล่าวว่า “การดำเนินการในวันนี้เป็นการยืนยันครั้งแรกว่า ยาที่กำหนดเป้าหมายไปยังกระบวนการของโรคอัลไซเมอร์ ได้แสดงให้เห็นประโยชน์ทางคลินิกในการนรับมือโรคร้ายแรงนี้”

เธอเสริมว่า “การศึกษาเชิงยืนยันนี้ให้ข้อพิสูจน์ว่า มันเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

Leqembi คือยากลุ่ม “เลเคนแมบ” (Lecanemab) เป็นยาจากบริษัท Eisai และ Biogen ได้รับการ “อนุมัติแบบเร่งรัด” เมื่อเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมา จากหลักฐานที่บ่งชี้ว่า สามารถกำจัดโปรตีนชนิดหนึ่งในสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ได้

มีรายงานว่า ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีโปรตีนที่ผิดปกติชื่อ “อะไมลอยด์ เบตา” สะสมอยู่ นักวิจัยผู้พัฒนายาคาดการณ์ว่า โปรตีนตัวนี้ทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย ซึ่งเลเคนแมบจะกำจัด อะไมลอยด์ เบตา ด้วยการผูกแอนติบอดีเทียมเข้ากับตัวโปรตีน

Eisai ผลิตยารักษาอัลไซเมอร์ หวังอนุมัติใช้ในญี่ปุ่นภายในปีนี้

“อ้วนเกินเกณฑ์”วิจัยพบเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง-อัลไซเมอร์

4 กลุ่มอาหารสมอง ชะลอความเสื่อม บำรุงประสาท ป้องกันอัลไซเมอร์

ทั้งนี้ ระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาขยายความครอบคลุมของประกันให้ครอบคลุมยาตัวนี้ เพื่อขยายการเข้าถึงยาให้ประชากรในสหรัฐฯ ประมาณล้านคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก

การใช้ยานี้จะต้องฉีดเข้าเส้นเลือดทุก 2 สัปดาห์ โดยหากยา Leqembi ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในประกัน จะมีราคาค่าใช้จ่ายสูงถึง 26,500 ดอลลาร์สหรัฐ (934,000 บาท) ต่อปี

โจ มอนต์มินี วัย 59 ปี ผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ กล่าวว่า “การได้รับประกันคุ้มครองนั้นสำคัญมาก … เพราะการรักษานั้นยอดเยี่ยมมาก แต่ผมไม่สามารถจ่ายค่าใช้จ่าย 26,000 ดอลลาร์ต่อปีได้”

ยา Leqembi นี้อนุมัติใช้เฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ที่ได้รับการยืนยันว่ามีโปรตีนอะไมลอยด์ในสมอง เท่านั้น

ดร.ลอว์เรนซ์ โฮนิก ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เออร์วิง เมดิคัล เซ็นเตอร์ ประเมินว่า คนอเมริกันที่มีลักษณะอาการดังกล่าว คิดเป็นประมาณ 1 ใน 6 ของชาวอเมริกันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันซึ่งมีมากกว่า 6 ล้านคน

เขาเสริมว่า ในส่วนของผู้ที่ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระดับที่สูงขึ้นหรือรุนแรง อาจไม่ได้รับประโยชน์จากยานี้เท่าไรนัก และอาจเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น โดยอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี โฮนิกตั้งข้อสังเกตว่า Leqembi เป็นเพียงยาชะลออาการความจำเสื่อมเท่านั้น ยังไม่ใช่วิธีรักษาให้หายขาดได้ โดยผลการทดลองทางคลินิกที่ใช้เวลา 18 เดือนพบว่า สามารถชะลอการลดลงของความสามารถทางปัญญาและการทำงานของสมองได้ 27%

แต่เขาบอกว่า ยา Leqembi ถือเป็นสัญญาณที่ดี “การรักษาที่เรามีในขณะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ เราหวังว่าจะมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต”

ด้านสมาคมโรคอัลไซเมอร์กล่าวว่า ยินดีกับการอนุมัติใช้ยา Leqembi เต็มรูปแบบของ FDA

ดร.โจแอนน์ ไพก์ ประธานของสมาคม กล่าวว่า “การรักษานี้ แม้จะไม่ใช่การรักษา แต่ก็ช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นมีเวลามากขึ้นในการรักษาความเป็นตัวเองไว้และทำในสิ่งที่พวกเขารัก”

เธอเสริมว่า “ยานี้ทำให้ผู้คนจดจำคู่ครอง ลูกหลาน ได้นานขึ้นหลายเดือน นอกจากนี้ยังมอบเวลาให้มากขึ้นในการที่จะขับรถอย่างปลอดภัย ในการทำงานหาเงินให้ครอบครัว และทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมตามความสนใจได้อย่างเต็มที่”

อย่างไรก็ตาม ยานี้ยังมีผลข้างเคียงและต้องมีการตรวจสอบเป็นประจำ โดยประมาณ 13% ของผู้เข้าร่วมในการทดลอง มีอาการสมองบวมหรือมีเลือดออก และความเสี่ยงเหล่านั้นอาจสูงขึ้นสำหรับบางกลุ่ม โดยพิจารณาจากพันธุกรรมหรือหากพวกเขาใช้ยาที่ทำให้เลือดจาง

FDA กล่าวว่า ที่กล่องยา Leqembi จะมีคำจเตือนและข้อมูลการสั่งจ่ายยา เพื่อแจ้งเตือนผู้ป่วยและผู้ดูแลถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงเหล่านี้

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก AFP

 อย.สหรัฐฯ อนุมัติใช้เต็มรูปแบบ “ยาชะลออัลไซเมอร์” ตัวแรก

By admin