สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสต็อกโฮล์ม (SIPRI) ซึ่งติดตามการใช้จ่ายด้านการทหารของประเทศต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 1949 ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ได้เผยแพร่รายงาน ”แนวโน้มการใช้จ่ายทางการทหารทั่วโลกปี 2023” และพบว่า ทั่วโลกใช้จ่ายงบประมาณไปกับงานกลาโหมหรือการทหารมากถึง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 89 ล้านล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา
ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็น 2.3% ของจีดีพีโลก เพิ่มขึ้นมาจากปี 2022 ประมาณ 0.1%
การใช้จ่ายปริมาณดังกล่าวยังเท่ากับว่า ประชากรทุกคนบนโลกเสียภาษีเพื่อการทหารมากถึง 306 ดอลลาร์สหรัฐ (11,000) ต่อหัว ซึ่งนับว่ามากที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น
สำหรับประเทศ 5 อันดับแรกที่ใช้จ่ายด้านการทหารมากที่สุด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายทางทหารมากที่สุด คือ 9.16 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33.9 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 37% ของการใช้จ่ายทางการทหารทั่วโลก
ประเทศจีนตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยการใช้จ่ายประมาณ 2.96 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.9 ล้านล้านบาท)
ส่วนรัสเซียอยู่อันดับ 3 ที่ 1.09 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4 ล้านล้านบาท) แม้ว่า SIPRI จะมองว่านี่เป็นการประมาณการณ์ที่ต่ำไป “เนื่องจากความคลุมเครือที่เพิ่มขึ้นของหน่วยงานทางการเงินของรัสเซียนับตั้งแต่การรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบในปี 2022”
อินเดียมาเป็นอันดับ 4 ด้วยการใช้จ่าย 8.36 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 3.1 ล้านล้านบาท) และอันดับ 5 ซาอุดิอาระเบีย 7.58 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.8 ล้านล้านบาท)
ส่วนประเทศไทยของเราอยู่ในอันดับที่ 38 ของโลก ตกลงมาจากเดิม 3 อันดับ โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.15 แสนล้านบาท) ลดลงมาจากปี 2022 ประมาณ 6.5%
ทั้งนี้ ประเทศในแถบยุโรป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายทางทหารมากกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น รัสเซียเพิ่มขึ้น 24% และยูเครนเพิ่มขึ้น 51% หรือเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ อย่างโปแลนด์ (จากอันดับ 19 เป็นอันดับ 14) เพิ่มขึ้น 75% และฟินแลนด์ (จากอันดับ 46 เป็นอันดับ 35) เพิ่มขึ้น 54%
นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน โปแลนด์ได้สั่งซื้อเครื่องยิงจรวด HIMARS 500 เครื่อง, รถถัง Abrams 250 คัน รวมถึงเครื่องยิงจรวด รถถัง ปืนครก และเครื่องบินรบจากเกาหลีใต้
ส่วนฟินแลนด์ซึ่งมีพรมแดนร่วมกับรัสเซีย ได้เพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างมหาศาล โดยซื้อ F-35 และระบบป้องกันภัยทางอากาศ
นอกจากนี้ยังมีหลายชาติยุโรปที่ค่าใช้จ่ายด้านทหารเพิ่มขึ้น ทั้งสหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือยูเครน รวมถึงเติมอาวุธในคลังของตัวเองเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นคำพูดจาก สล็อตแจกเครดิตฟรี
แดน สมิธ ผู้อำนวยการ SIPRI กล่าวว่า “พวกเขารับรู้ว่าคลังอาวุธของพวกเขาไม่เพียงพอเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่พวกเขารับรู้จากรัสเซีย … ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องเติมคลังอาวุธกลับไปเหมือนเดิม … และพวกเขาจำเป็นต้องเตรียมช่วยยูเครนต่อไป”
ส่วนการโจมตีของฮามาสต่ออิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และสงครามสืบเนื่องในฉนวนกาซาส่งผลให้งบประมาณด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นมา 24% เช่นกัน
อ่านรายงานฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ครั้งแรกในรอบพันล้านปี! สองสิ่งมีชีวิตรวมกันเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวอย่างแท้จริง คำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรี
ราคาทองวันนี้ (23 เม.ย.2567) เปิดตลาด “ร่วง 850 บาท” แรงเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย
“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องทนายดัง โพสต์หมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 5 ล้าน